Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
บทบาทหน้าที่
แผนพัฒนาท้องถิ่น
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
ข่าวสารตำบล
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
ภาพกิจกรรมศูนย์ ๓ วัย
แผนอัตรากำลัง
งานทะเบียนพานิชย์
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2563
งานบุคคลากร
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
กองทุนสวัสดิการชุมชน
คณะกรรมการ
สมาชิกภาพ
สวัสดิการทั่วไป
หลักการทั่วไป
การจัดเก็บรายได้
งานประชาสัมพันธ์
รายชื่อผู้เสียภาษีโรงเรือน
รายชื่อผู้เสียภาษีป้าย
รายชื่อผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่
กิจการสภาฯ
ระเบียบวาระการประชุม
รายงานการประชุม
ประกาศ
หนังสือราชการ
เอกสารดาวน์โหลด
งานด้านพัฒนาชุมชน
งานด้านสาธารณะสุข
งานกองช่าง
งานการศึกษา
งานด้านการคลัง
งานบุคลากร
คู่มือประชาชน
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
รายรับรายจ่าย
รายงานการประชุม
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เว็บบอร์ด
พูดคุยเรื่องทั่วไป
ข้อเสนอแนะ ติชม
รับเรื่องราวร้องทุกข์
เว็บบอร์ดเครือข่าย
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ดาวเทียม




หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สภาพสังคม
สภาพสังคม

ประชากร
     ประชากรทั้งสิ้น 3,811 คน แยกเป็นชาย 1,907 คน หญิง 1,904 คน (ข้อมูลจากสำนักงานทะเบียนอำเภอไชยา ข้อมูล ณ วันที่ 31  ตุลาคม  2559) แยกรายละเอียดตามหมู่บ้านได้ ดังนี้ 

     - จำนวนประชากร แยกตามหมู่บ้านและเพศ และจำนวนครัวเรือน
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร
ชาย หญิง รวม
1  บ้านฝ่ายพรุ 234 313 343 656
2  บ้านตะกรบ 320 465 453 918
3  บ้านห้วยพุน 144 244 256 500
4  บ้านสระมโนราห์ 202 352 336 688
5  บ้านบ่อคา 322 533 516 1,049
   รวม 1,222 1,907 1,904 3,811
ข้อมูล ณ ตุลาคม 2559

     - ตารางเปรียบเทียบจำนวนประชากร ระหว่างปี 2552-2554
ชื่อหมู่บ้าน ปี พ.ศ. 2552 ปี พ.ศ. 2553 ปี พ.ศ. 2554
ชาย
(คน)
หญิง
(คน)
รวม
(คน)
ชาย
(คน)
หญิง
(คน)
รวม
(คน)
ชาย
(คน)
หญิง
(คน)
รวม
(คน)
บ้านฝ่ายพรุ 328 325 653 329 336 665 329 344 673
บ้านตะกรบ 448 457 905 456 458 914 455 446 901
บ้านห้วยพุน 212 221 433 220 229 449 215 229 444
บ้านสระมโนราห์ 324 335 659 324 334 658 326 334 660
บ้านบ่อคา 473 473 946 487 482 969 492 492 984
รวม 1,785 1,811 3,296 1,816 1,839 3,655 1,817 1,845 3,662


สาธารณสุข
      โรงพยาบาลของรัฐ ขนาด – เตียง - แห่ง
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/หมู่บ้าน 1 แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 5)
      สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน 1 แห่ง มีเจ้าหน้าที่ 4 คน(ตั้งอยู่หมู่ที่ 5)
      สถานพยาบาลเอกชน - แห่ง
      ร้ายขายยาแผนปัจจุบัน - แห่ง
      อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 
     สถานีตำรวจ - แห่ง
     สถานีดับเพลิง - แห่ง
     หน่วยบริการประชาชน (ตำรวจชุมชน) 1 แห่ง มีเจ้าหน้าที่ 3 คน (ตั้งอยู่หมู่ที่ 2)
     ศูนย์ อปพร. 1 แห่ง มีอาสาสมัคร 80 คน (ตั้งอยู่หมู่ที่ 5)

วัฒนธรรม/ประเพณี
ประเพณีที่สำคัญประจำตำบลตะกรบมีดังนี้
1.ประเพณีลอยกระทง
     ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีโบราณของไทย ที่เชื่อกันว่าสืบสานมาตั้งแต่สุโขทัยเป็นราชธานี ประชาชนในตำบลตะกรบได้มีการสืบสานประเพณีดังกล่าว โดยมีการจัดงานประเพณีวันลอยกระทงขึ้นทุกปี เมื่อใดที่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 มาเยือนทีไร ชาวบ้านจะมีการนำวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น มาประดิษฐ์กระทงเพื่อใช้ลอยในยามค่ำคืนที่พระจันทร์เต็มดวงอย่าง รื่นเริง สนุกสนาน เป็นบรรยากาศที่สวยงามมาก

2.ประเพณีแห่เทียนพรรษา
     งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ที่ชาวตำบลตะกรบ ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่อีกประเพณีหนึ่งของชาวบ้านในตำบล โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 และแรม 1 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา โดยจัดให้มีขึ้นทุกปี ซึ่งมีการดำเนินการร่วมกันของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน นักเรียน องค์กรต่างๆ ภายในตำบล

3.ประเพณีวันสงกรานต์ (รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่)
     ประเพณีรดน้ำดำหัวถือว่าเป็นประเพณีที่ดีงามอีกประเพณีหนึ่ง ที่ชาวบ้านในตำบลตะกรบถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ซึ่งการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ หรือญาติผู้ใหญ่ บุคคลผู้ที่ตนให้ความเคารพนับถือ แสดงถึงความนอบน้อม  การรดน้ำดำหัวนั้นจะเป็นการขอโทษขออภัย ซึ่งกันและกัน ที่เคยล่วงเกินกันในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการล่วงเกินทางกาย ล่วงเกินทางวาจาหรือว่าการล่วงเกินทางใจ ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ ต่อหน้าหรือว่าลับหลังก็ตาม ประเพณีรดน้ำดำหัว จะมี ในระหว่าง วันที่ 13 – 15 เดือนเมษายนของทุกปี หรือวันสงกรานต์นั่นเอง  บรรยากาศในวันดังกล่าว เป็นไปด้วยความชุ่มชื่นด้วยการรดน้ำซึ่งกันและ ผู้น้อยมีความกตัญญูต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ให้อภัยแก่ผู้น้อย ก่อให้เกิดความร่วมมือในอันที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้กับสังคมต่อไป

4.ประเพณีลอยตาโนเน (บูชาแม่ย่านาง)
ความเชื่อในตำบล 
     นับตั้งแต่โบราณกาลมนุษย์ได้อาศัยเรือและแพในการเดินทางการสร้างเรือแต่ละลำนั้น ต้องเดินทางเข้าป่าไปตัดต้นไม้ใหญ่และด้วยความเชื่อว่าในป่านั้นมีรุกขเทวดาและนางไม้สิงสถิตย์อยู่ที่ต้นไม้ใหญ่ ก่อนที่จะทำการโค่น ต้องทำพิธีบวงสรวงขอขมาหรือที่เรียกกันว่าพลี เมื่อได้ต้นไม้มาสร้างเป็นลำเรือแล้วต้องทำพิธีสำคัญโดยหมอผู้ชำนาญจะทำพิธีอัญเชิญรุกขเทวดาหรือนางไม้มาประทับประจำที่เรือนั้นๆให้ช่วยคุมครองรักษาในการเดินเรือให้ปลอดภัยจากเหตุร้ายต่างๆชาวเรือจึงเรียกกันว่า แม่นาง
ยังมี ตำนานเรื่องแม่ย่านางแห่งทะเลใต้ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์จตุคามศาสตร์แห่งอาณาจักรชะวากะ กล่าวถึง นางพญาจันทรา ผู้เป็นพระมารดาของเจ้าชายรามเทพพระนางทรงมีพลังจิตรที่แกร่งกล้าสามารถบังคับคลื่นลมและสยบลมร้ายได้ ชาวประมงทั้งหลายจึงเคารพบูชากราบไว้มื่อจะออกทะเลก็ระลึกนึกถึงและกล่าวนามพระนางว่า แม่ย่านาง และนี้ก็อีกตำนานหนึ่งเป็นความเชื่อของท้องถิ่นต่างๆ
     ตำนานมาเล่าสู่กันฟังกาลครั้งหนึ่งมีพญานาคตนหนึ่งชื่อว่า "โต๊ะทวด" มีหลานชายชื่อ"โต๊ะร่าปู"พวกนี้เป็นงูเทวดา เมื่อขึ้นบนบกสามารถกลาย ร่างเป็นคนได้ โต๊ะร่าปูได้ท่องเที่ยวไปพบสาวสวยคนหนึ่งเรียกกันว่า "แม่ย่านาง" ที่บ่อสุหรี(บ่อคุรี อำเภอเกาะลันตา) โต๊ะร่าปูหลงไหลในความสวยงามของนาง จึงกลับมาบอกโต๊ะทวดว่าเขาพบหญิงสาวคนหนึ่งสวยมาก อยากได้มาเป็นเมีย โต๊ะทวดจึงไปเที่ยวสอบถามได้ความว่า "แม่ย่านาง"เป็นลูกสาวโต๊ะหัวหิน เป็นหลานโต๊ะนาค จึงไปสู่ขอแม่ย่านาง แต่โต๊ะ นาค ไม่ค่อยชอบหน้าร่าปู จึงบอกว่า ใครมาขอหลานสาวฉัน ถ้าไม่มีฤทธิ์เหมือนฉันก็จะไม่ยกให้ โต๊ะทวดไม่พอใจที่ โต๊ะนาคกล่าวดูถูกกันเช่นนั้น จึงบอกว่า ขอให้บอกมาโต๊ะร่าปูทำได้ทุกอย่าง โต๊ะนาคจึงบอกว่า ถ้าอย่างนั้นให้โต๊ะร่าปูทำตามก็แล้วกัน ว่าแล้วก็สำแดงตัวเป็นพญานาคใหญ่มี 7 หัว 7 หาง โต๊ะร่าปูก็ทำบ้างแต่ได้แค่ 7 หัวเท่านั้นโต๊ะนาคจึงกวาด เครื่องขันหมากของโต๊ะร่าปูทิ้งทะเลเสียหมด กลายเป็นเกาะแก่งต่างๆในอ่าวนาง ส่วนแม่ย่านางก็ยังคงสิงสถิตอยู่ ณ ที่ แห่งนั้นชั่วนิจนิรันคร์ 
กาลเนิ่นนานมาเล่ากันอีกว่า มีคนทำรังนกนางแอ่นที่เขาหลัก ล่องเรือผ่านอ่าวแห่งนี้เสมอ พวกเขาได้บนบานศาลกล่าว่า ขอให้ได้รังนกมากๆแล้วพวกเขาจะแก้บนโดยยกผู้ชายให้เป็นสามีแม่ย่านางคนหนึ่ง ปรากฏว่าวันนั้นเขาได้รังนกมากเป็น พิเศษ เมื่อล่องเรือมาถึงปากอ่าวก็เกิดพายุจัดไม่สามารถไปได้ต่อ จึงคิดได้ว่า พวกเขาผิดคำสัญญาต่อนาง พอดีในเรือลำ นั้นมีผู้ชายคนหนึ่งค่อนข้างจะเป็นคนโง่ ทึ่ม จึงบอกว่าสาเหตุที่แกเป็นเช่นนี้เพราะตัวแกเป็นนาค ถ้าหากต้องการจะเป็น คนมีสติปัญญาเหมือนคนอื่นๆ ต้องเป็นสามีแม่ย่านางเสียก่อน ผู้ชายคนนั้นตกลงพรรคพวกจึงส่งขึ้นฝั่ง พวกเขามองเห็น ผู้หญิงคนหนึ่งออกมานำตัวผู้ชาย หายเข้าถ้ำไป..และไม่เคยมีใครพบเขาอีกเลยจนกระทั่งบัดนี้
พิธีกรรม
    เครื่องบูชาแม่ย่านางได้แก่ไก่ตัวผู้ ๑ ตัว เหล้า ๑ ขวด หัวหมู ๑ หัว ขนมโค (ขนมต้มขาว) ขนมถั่ว ขนมงา กล้วย ผลไม้อื่น ๆ ตามแต่จะหาได้ ปลามีหัวมีหาง ข้าวแกง แก้วเหล้า แก้วน้ำ สิ่งเหล่านี้เตรียมใส่ภาชนะให้เรียบร้อย แล้วเอาผ้าแดง ด้ายแดง ด้ายขาว ผูกหัวเรือ ใช้ธูป ๙ ดอกจุดไฟ พร้อมกับออกชื่อแม่ย่านาง โดยกล่าวเชิญมารับเครื่องเซ่น เครื่องบูชา ขอให้ช่วยคุ้มครองป้องกันอันตรายทุกอย่างและช่วยนำโชคลาภมาให้นอกจากการจัดเครื่องบูชา เครื่องเซ่นแม่ย่านางแล้ว จะต้องจัดอาหารให้แก่บริวารแม่ย่านาง อีกส่วนหนึ่งด้วย โดยไม่รวมกับของแม่ย่านาง หลังจากนั้นต้องจุดประทัดแล้วรีบเบี่ยงหัวเรือออกทะเลอาหารที่เหลือจากการบูชาแม่ย่านางแบ่งให้พรรคพวกบนเรือรับประทานก็เป็นอันเสร็จพิธี ถ้าเจ้าของเรือเป็นคนจีน เครื่องบูชาโดยเฉพาะไก่ ต้องนำไก่เป็นลงไปในเรือ ใช้มีดเชือดคอไก่ รองเอาเลือดราดหัวเรือไปจนตลอดท้ายเรือ แล้วนำซากไก่ทิ้งน้ำ ห้ามเก็บไปปรุงเป็นอาหารรับประทานโดยเด็ดขาด

5.ประเพณีงานบุญเดือนสิบ
     งานบุญเดือนสิบ เป็นงานบุญงานประเพณีที่สืบสานกันมาแต่โบราณกาล มีขึ้นระหว่างวันแรม 1 ค่ำ ถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ สืบเนื่องมาจากความเชื่อพุทธศาสนาว่า ในปลายเดือนสิบของทุกปี พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และ ญาติพี่น้อง ซึ่งล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีบาปต้องตกระกำลำบากเป็น "เปรต" จะได้รับการปล่อยตัวจากนรกภูมิให้มาหาลูกหลานญาติมิตรของตนในเมืองมนุษย์ จึงจัดงานทำบุญเป็นประเพณีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ ครั้งหนึ่งเป็นการต้อนรับ กับจัดในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเลี้ยงส่ง และอุทิศบุญกุศลไปให้ การจัดงานบุญทั้งสองวันนี้ชาวบ้านจะให้ความสำคัญกับวันหลังมากกว่า
     ชาวตำบลตะกรบให้ความสำคัญกับงานบุญเดือนสิบมาก ผู้เฒ่าผู้แก่จะอบรมสั่งสอน และ ทำตัวอย่างให้ลูกหลานเห็นเป็นที่ประจักษ์มาตั้งแต่ๆ โดยเฉพาะคุณตา คุณยาย พ่อแม่ และญาติผู้ใหญ่ ในวันทำบุญจะชวนลูกหลานไปทำบุญหรือไปชิงเปรตที่วัด เมื่อใกล้ถึงวันทำบุญทุกครอบครัวจะตระเตรียมข้าวของ อุปกรณ์ต่างๆให้พร้อม ผู้ที่อยู่ต่างถิ่นกำเนิดจะเริ่มทยอยเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมปักษ์ใต้บ้านเรา เพื่อไปร่วมพิธีทำบุญพร้อมหน้าพร้อมตากัน นับเป็นงานรวมญาติที่สำคัญงานหนึ่ง
     การจัดอาหารหวานคาวจะจัดอาหารที่คาดว่าบุรพชนชอบอย่างละนิดละหน่อย และที่สำคัญขาดไม่ได้ คือ ขนม 5 อย่าง คือ ขนมพอง ขนมลา ขนมกง ขนมดีซำ และขนมบ้า เมื่อตั้งอาหารสำหรับเปรตบนหลาเปรตเสร็จแล้ว จำนำสายสิญจน์ที่พระสงฆ์จัดไว้เพื่อทำพิธีบังสุกุลมาผูกไว้กับหลาเปรต แผ่ส่วนบุญกุศลแก่บุรพชน เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์และเก็บสานสิญจน์แล้ว ผู้คนทั้งหญิงชาย เฒ่าแก่ หนุ่มสาวและเด็กๆ ก็จะกรูกันเข้าแย่งชิงอาหารที่ตั้งไว้นั้น เรียกว่า "ชิงเปรต" การชิงเปรตเป็นเรื่องสนุกสนาน ครื้นเครง เฮฮาของหนุ่มสาวและเด็ก เนื่องจากมีความเชื่อว่าของที่เหลือจากการเซ่นไหว้บุรพชน ถ้าใครได้กินจะได้รับกุศลแรงเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว

6.ประเพณีเมาลิดประจำปี
     งานเมาลิดเป็นงานที่จัดขึ้นทุกปี ในชุมชนมุสลิม (บ้านห้วยพุน) หมู่ที่3 ตำบลตะกรบ วัตถุประสงค์เพื่อรำลึกถึงท่านศาสนฑูต มุฮัมมัด (ศ๊อลฯ) เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษา การดำเนินชีวิตในแบบอย่างของท่านศาสนทูต ซึ่งกำลังเลือนหายไปในการดำเนินชีวิตของเยาวชนมุสลิมส่วนใหญ่ในยุคนี้
     การจัดงานเมาลิด หาได้มีวัตถุประสงค์เพื่อฉลองวันเกิดของท่านนบีฯ อย่างไร แต่เป็นกิจวัตร ประเพณีนิยมหนึ่ง ของมุสลิมในตำบลตะกรบ ผู้คน พี่น้องในชุมชนได้มีโอกาสพบปะเยี่ยมเยือน สร้างความรัก ความสามัคคีให้กับมุสลิมในพื้นที่ ใช่ว่าต่างคน ต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ มีการเชื่อมโยงกัน จำต้องมีกิจกรรมทางสังคมมายึดเหนี่ยว เพื่อรักษาความเป็นเอกภาพของสังคมมุสลิมเอาไว้ งานเมาลิดนบีของมุสลิมชาวตำบลตะกรบ ถือได้ว่าจัดกันมานาน เป็นประเพณี และก็ยังคงสืบผ่านต่อรุ่นสู่รุ่นอีกนาน โดยมีกิจกรรม อาทิเช่น อ่านอัลกุรอาน ร่วมกัน ซอลาวาตนบี (การอ่านกวีสรรเสริญท่านศาสนทูต) ดุอาร่วมกัน บรรยายศาสนา กินข้าว มีการแสดงความสามารถของเยาวชน ในการอ่านดุอา ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวแทนเยาวชนจากมัสยิดในชุมชน

7.วันอิดิ้ลฟิตริ-วันอิดิ้ลอัฎฮา
     วันตรุษในศาสนาอิสลามมีสองตรุษคือตรุษอีดิลฟิตริกับตรุษอีดิลอัฎฮา
วันอีดิ้ลฟิรตริ อัลฟิตริ แปลว่า สภาพเดิม เมื่อนำเอาคำว่า “อีด” มาประสม (สนธิ) กับ “อัลฟริตรฺ” จึงได้เป็นอีดิ้ลฟิตรฺ มีความหมายว่า วันรื่นเริงเนื่องในการครบรอบเข้าสู่สภาพเดิมหรือเทศกาลของการเข้าสู่สภาพเดิม คือสภาพที่ไม่ต้องอดอาหารในระหว่างเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ของศักราชอิสลาม) มุสลิมจะถือศีลอดเป็นเวลา 1 เดือน ซึ่งบางคนเรียกว่าถือบวช ฉะนั้นวันอีดืลฟิตริคือวันรื่นเริงที่กลับสู่สภาพเดิมคือไม่ต้องถือบวช จึงนิยมเรียกวันนี้ว่า “วันออกบวช” หรือ “วันอีดเล็ก”
     วันอีดิ้ลอัฎฮา อัฎฮา แปลว่า การเชือดสัตว์พลี เพื่อเป็นอาหารแก่ประชาชนและคนยากจน เมื่อนำมารวมกับคำว่า “อีด” จึงเป็น “อีดิ้ลอัฎฮา” ซึ่งหมายถึงวันรื่นเริงเนื่องในการเชือดสัตว์พลีเป็นอาหารแก่ประชาชนและคนยากจน ตรงกับวันที่ 10 ของเดือน ซุ้ลฮิจญะ อันเป็นเวลาเดียวกันกับการประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครมักกะฮฺของมุสลิมทั่วโลก ดังนั้น ชาวไทยมุสลิมจึงนิยมเรียกว่า “วันออกฮัจญี” หรือวัน “อีดใหญ่”
     วันสำคัญดังกล่าวถือว่าเป็นวันครอบครัวของอิสลาม ญาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกลจะได้มาพบกัน มีการบริจาคซากาต (วันอีดิ้ลฟิตตริ) เชือดสัตว์พลี (วันอิดิ้ลอัฎฮา) ตามบ้านเรือนต่างๆจะเตรียมของอาหารต้อนรับทั้งของคาวหวาน ส่งเสริมให้ทุกคนแต่งกายอย่างสวยงาม นอกจากนี้ยังมีการละหมาดที่มัสยิดร่วมกัน ไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นเป็นการสร้างความสามัคคีและฟังคุฏบะฮ์(คำเทศนา) การไปเยี่ยมสุสานเพื่อรำลึกถึงความตาย การไปเยี่ยมญาติมิตรสหาย อีกทั้งยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม โดยการจัดกิจกรรมต่างๆเช่น การเลี้ยงอาหาร การอ่านอัล-กุรอาน การแข่งขันกีฬาเพื่อความสามัคคีในชุมชน

การศึกษา
      - โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง สังกัด สพฐ.
ลำดับ ชื่อโรงเรียน เปิดสอนระดับ
1 โรงเรียนบ้านตะกรบ ป.1-ป.6
2 โรงเรียนวัดวิชิตธาราราม ป.1-ป.6
3 โรงเรียนบ้านห้วยพุน อ.1-ม.3
     - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง สังกัด อบต.ตะกรบ
ลำดับ ชื่อโรงเรียน สถานที่ตั้ง
1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลตะกรบ องค์การบริหารส่วนตำบลตะกรบ
2 ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิด มัสยิดฮาบิดิตตอฮีรีน
     - แหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ
ลำดับ แหล่งเรียนรู้ สถานที่ตั้ง
1 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำตำบล ห้องสมุดศูนย์ 3 วัย ตำบลตะกรบ
2 ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน อาคารประจำหมู่บ้าน
3 ศูนย์การเรียรู้ตำบลตะกรบ องค์การบริหารส่วนตำบลตะกรบ

สถาบัน/องค์กรศาสนา
- วัดในตำบลตะกรบมี 3 แห่ง ประกอบด้วย
     1. วัดวิชิตธาราราม 
     2. วัดดอนทรายทอง
     3. วัดตะกรบ
- มัสยิดในตำบลตะกรบมี 2 แห่ง ประกอบด้วย
     1. มัสยิดฮาบิดิตตอฮีรีน
     2. มัสยิดยามาอาตุ้ลมุสลิมีน


องค์การบริหารส่วนตำบลตะกรบ
หมู่ที่ 5 ตำบลตะกรบ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84110
โทรศัพท์ : 077-955256 สำนักปลัด 077-950024 กองคลัง 077-951619 กองช่าง โทรสาร : 0-7795-0024: 
admin@takrob.go.th

www.takrob.go.th