Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
บทบาทหน้าที่
แผนพัฒนาท้องถิ่น
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
ข่าวสารตำบล
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
ภาพกิจกรรมศูนย์ ๓ วัย
แผนอัตรากำลัง
งานทะเบียนพานิชย์
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2563
งานบุคคลากร
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
กองทุนสวัสดิการชุมชน
คณะกรรมการ
สมาชิกภาพ
สวัสดิการทั่วไป
หลักการทั่วไป
การจัดเก็บรายได้
งานประชาสัมพันธ์
รายชื่อผู้เสียภาษีโรงเรือน
รายชื่อผู้เสียภาษีป้าย
รายชื่อผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่
กิจการสภาฯ
ระเบียบวาระการประชุม
รายงานการประชุม
ประกาศ
หนังสือราชการ
เอกสารดาวน์โหลด
งานด้านพัฒนาชุมชน
งานด้านสาธารณะสุข
งานกองช่าง
งานการศึกษา
งานด้านการคลัง
งานบุคลากร
คู่มือประชาชน
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
รายรับรายจ่าย
รายงานการประชุม
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เว็บบอร์ด
พูดคุยเรื่องทั่วไป
ข้อเสนอแนะ ติชม
รับเรื่องราวร้องทุกข์
เว็บบอร์ดเครือข่าย
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ดาวเทียม




หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา

     ชื่อ ตำบลตะกรบ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2 เดิมมีชื่อเรียกว่า บ้านดอนขรบ คำว่า ขรบ หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งมีหนามทั้งต้น ผลกินได้ หรือเรียกอีกชื่อคือ ต้นขรบ บริเวณพื้นที่นี้ส่วนใหญ่มีต้นไม้ชนิดนี้ชุกชุม จงเรียกบริเวณนี้ว่า ดอนขรบ และได้ถูกเปลี่ยนเป็นบ้านดอนตะขบและต่อมาก็เพี้ยนไปเป็นบ้านตะขรบ จนถึงทุกวันนี้

     บ้านไสค้อ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2 ในท้องที่หมู่บ้านนี้มีต้นไม้ชนิดหนึ่งเรียกต้นค้อ มีมากจนเรียกว่าป่าค้อ หรือ ไสค้อ เมื่อมีหมู่บ้านผู้คนมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินซึ่งเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านไสค้อ”

     บ้านวังตูม ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2 ชื่อบ้านนี้ถูกเรียกตามลักษณะของท้องที่กล่าวคือแต่เดิมมีวังน้ำลึกและใหญ่มาก มีจระเข้อาศัยอยู่ บริเวณรอบๆ วังน้ำนั้นส่วนใหญ่แล้วเป็นต้นไม้ชนิดที่เรียกว่า ต้น-ตาตุ่ม หรือที่ชาวบ้านเรียก ต้นตูม ดังนั้น วังน้ำนี้จึงได้ชื่อว่า วังตูม ครั้นมีผู้คนมาตั้งบ้านเรือนบริเวณนี้ จึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านวังตูม”

     บ้านบางโฉลง อยู่ในท้องที่หมู่ที่ 1 การตั้งชื่อหมู่บ้านนี้เป็นการตั้งชื่อ เพื่อให้เป็นมงคลแก่หมู่บ้าน คือตั้งชื่อว่าโฉลก ส่วนคำว่า บาง นั้นหมายถึงทางน้ำเล็ก ๆ ที่ไหลไปรวมกับคลองใหญ่  เรียกชื่อบางนั้นว่า บางโฉลก แล้วคำเรียกนั้นค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นบางโฉลง เมื่อมีบ้านคนอาศัยจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า“บ้านบางโฉลง”

     บ้านฝ่ายพรุ อยู่ในท้องที่หมู่ที่ 1 มีเรื่องเล่ากันมาว่า มีผู้ชายอยู่สองฝ่ายหรือสองพวก ทั้งสองพวกนี้ไม่ค่อยจะเป็นมิตรกัน ทุกปีจะมีการพนันแข่งขันกันและมักจะมีเรื่องราวทะเลาะวิวาทกันเสมอมา มาปีหนึ่งมีการพนันแข่งขันกันอีก และก็ได้ทะเลาะกันอย่างรุนแรง จนถึงขั้นชกต่อยกันขึ้น มีผู้หญิงฉลาดคนหนึ่งได้หาทางที่จะทำให้คนทั้งสองพวกเลิกราการชกต่อย จึงได้จุดประทัดขึ้นต่างฝ่ายนึกว่าเป็นเสียงปืนของอีกฝ่าย-หนึ่ง จึงตกใจวิ่งหนีไปคนละทาง พวกหนึ่งวิ่งข้ามพรุ ไปอีกฟากหนึ่งของพรุ ได้ และเรียกสถานที่ตรงนั้นว่า ฝ่ายพรุ เมื่อผู้คนไปตั้งบ้านเรือนจึงเรียกหมู่บ้านนั้นว่า “บ้านฝ่ายพรุ”

     บ้านห้วยพุน ตั้งอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งได้มีการยกกองกำลังจากเมืองหลวงเพื่อไปตีเมืองนครศรีธรรมราช ขณะเดินทัพมาถึงสถานที่ตรงนี้ ผู้เป็นนายทัพเห็นว่าสถานที่ตรงนี้เหมาะสมกับการที่จะพักพล เพราะมีห้วยน้ำพอที่ใช้อาบและกินได้ จึงหยุดทัพพักพล สถานที่ตรงนี้ จึงถูกเรียกว่า ห้วยพล และเพี้ยนมาเป็น ห้วยพุน ตามสำเนียงของคนไชยา

     บ้านดอนม่วง อยู่ในท้องที่ของหมู่ที่ 5 ตามลักษณะของหมู่บ้าน เป็นดอนทราย คือสภาพของดินเป็นดินทราย บนที่ดอนนี้มีต้นมะม่วงชนิดหนึ่งซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่ามะม่วงคันและมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งยังคงมีอยู่ถึงทุกวันนี้ แต่ละต้นสูงใหญ่แต่ถูกชาวบ้านโค่นเสียบ้างแล้ว แต่ก็ยังคงเหลืออยู่อีกมาก หมู่บ้านนี้จึงถูกเรียกว่า “บ้านดอนม่วง”

     บ้านท่าเกตุ อยู่ในท้องที่หมู่ที่ 5 หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ริมคลอง หรือท่าริมคลองนี้มีต้นเกตุอยู่ จึงเรียก ท่าเกตุ

     บ้านบ่อคา อยู่ในท้องที่หมู่ที่ 5 มีเรื่องเล่ากันว่ามีชายคนหนึ่งสร้างบ่อน้ำที่สวยงามมากแต่สร้างยังไม่เสร็จ คำพูดของชาวบ้านเรียกว่า สร้างคา แต่ที่ต้องสร้างไม่เสร็จก็เพราะว่า ชายคนนี้มีลูกสาวสองคนแต่ลูกสาวทั้งสองเกิดไปรักชายคนเดียวกัน วันหนึ่งลูกสาวทั้งสองไปรักชายคนเดียวกัน วันหนึ่งลูกสาวทั้งสองคนไปอาบน้ำที่บ่อนั้น แต่อาบน้ำยังไม่ทันเสร็จเรียบร้อยก็ได้รู้ว่าชายที่ตนรักมาเยี่ยมที่บ้านก็เลยรีบอาบน้ำให้เสร็จ ด้วยความรีบร้อนน้องสาวจึงตกลงไปในบ่อน้ำ พี่สาวกระโดดลงไปช่วยเลยจมน้ำตายทั้งคู่ พ่อเสียใจมากจึงไม่สร้างบ่อนี้ต่อไปให้เสร็จ คนเรียกบ่อน้ำนั้นว่า บ่อคา จนกลายมาเป็นบ่อคา


องค์การบริหารส่วนตำบลตะกรบ
หมู่ที่ 5 ตำบลตะกรบ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84110
โทรศัพท์ : 077-955256 สำนักปลัด 077-950024 กองคลัง 077-951619 กองช่าง โทรสาร : 0-7795-0024: 
admin@takrob.go.th

www.takrob.go.th